23 มีนาคม, 2565

 สายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุ ซึ่งระบบสายพานลำเลียงนั้นจะทำหน้าที่ในการย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยโรงงานอุตสาหกรรมสายการผลิตส่วนมากจะต้องอาศัยระบบสายพานลำเลียงในขั้นตอนกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียงมีกี่ประเภท

หากกล่าวถึงระบบสายพานลำเลียงจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก เป็นระบบสายพานลำเลียงชิ้นงานในแนวลาดเอียงสำหรับไลน์การผลิตที่มีความต่างระดับ ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกนี้ คือ สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง ซึ่งความลาดเอียงจะเริ่มที่ 10 องศา และไม่เกิน 45 องศา สำหรับสายพานลำเลียงแบบพลาสติกเหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทอาหาร บรรจุภัณฑ์ ยาง เป็นต้น

ตัวอย่างของ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก 



2.ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ เป็นสายพานลำเลียงที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง และลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น

ตัวอย่างของ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ 



3.ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับชิ้นงานน้ำหนักเบา ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพีวีซี คือ สามารถทนความร้อนและมีราคาถูก เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

ตัวอย่างของ ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC



4.ระบบสายพานลำเลียงสำหรับเครื่องตรวจโลหะ เป็นระบบสายพานลำเลียงที่ลำเลียงวัสดุเข้าเครื่องตรวจโลหะ โดยมีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก และสายพานลำเลียงแบบ PVC

สายพาน Chip Conveyor เป็นอุปกรณ์ลำเลียงอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ลำเลียงวัสดุเศษชิ้นงาน เช่น เศษโลหะจากงานเจาะ งานตัด งานเจียร เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และนิยมใช้มากในเครื่องจักร ระบบ cnc เนื่องจากราคาไม่แพง และสามารถออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานตามต้องการได้

ตัวอย่างของชุดทดลอง ระบบสายพานลำเลียงสำหรับเครื่องตรวจโลหะ


ระบบ AGV


   Automated Guided Vehicle หรือ AGV คือหุ่นยนต์ที่เป็นพาหนะ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น “รถ” ที่ใช้ขนส่งภายในอาคารแบบไร้คนขับ ที่ช่วยขนย้ายสินค้า และอุปกรณ์ ทั้งภายในคลังสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดดเด่นด้านการรองรับน้ำหนัก และการลำเลียงอย่างถูกต้องและปลอดภัย แม้ไร้แสงสว่าง หรือทำงานร่วมกับมนุษย์

การนำทางของ AGV

1.ใช้สายไฟฟ้าและเซ็นเซอร์แม่เหล็ก
2.ใช้แถบสีและเซ็นเซอร์แสง
3.ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ควบคุมรอบหมุนของล้อ

การควบคุมการจราจรและความปลอดภัย

1.วิธีตรวจจับรถที่อยู่ข้างหน้า (On-Board Vehicle Sensing หรือ Forward Sensing)
2.วิธีการโซน (Zone Blocking)
-กันชนฉุกเฉิน
-สัญญาณเตือน
-ระบบหยุดเมื่อออกนอกเส้นทาง

การบริหารระบบ

1. ควบคุมจากแผงควบคุมที่อยู่บน AGV (On-Board Control Panel)
2. เรียกจากสถานีที่อยู่ห่างไกล  (Remote Call Station)
3. ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง  (Central Computer Control)

รถ AGV หรือ Automated Guided Vehice เป็นrาหนะที่ใช้นการขนถ่ายสินค้าแบบอันมัติโดยไม่ต้องใช้คนขับที่ใช้งานง่kย สะดวก มีความปลอดภัยสูง ราคาไม่แพง ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานด้วย AGVs / AGC สามารถทำงานพร้อมกันหลายคันด้วยระบ Fleets Control System ผ่านระบบ Wi-Fi โดยเส้นทางเคลื่อนที่จะถูกกำหนดไว้ด้วยระบบ Routing Control System ทำให้ทราบตำแหน่งของตัวรถแต่ละคันบนเส้นทางที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน

รถ AGV (Automatic GuidedVehicle) ระบบอัตโนมัติ รุ่น CQD45H-AGV



รถ AGV (Automatic GuidedVehicle) ระบบอัตโนมัติ รุ่น CDDK15-AGV


ตัวอย่างของรถ AGV หรือ Automated Guided Vehice 






22 มีนาคม, 2565

รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียน

 รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียน

             ลำดับที่                                                  รายชื่อ                                               ชื่อเล่น

                                                               อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค                             อาจารย์ปาล์ม

          045                                               นาย พงศกร เหล็มเหร็ม                                   ฟิก

          046                                               นาย ภูมินทร์ เซ่งอั้น                                         โอ๊ต

          048                                               นาย มัซลัณ สาและ                                           ลัน

          049                                               นาย มัูฮัมหมัดอิรฟาน วาเล็ง                             ฟาน

          050                                               นาย มูฮัมหมัดฮารีส มะลี                                  ฮาริส

          052                                               นาย ยุทธนา เดชะบุญ                                       บอย

          053                                               นาย ยุุสรี แวอูมา                                              ยุสรี

          054                                               นาย รอฉีดี ซาหีมซา                                            ดี้

          055                                               นาย รัตนพงษ์ เดิมหลิ่ม                                    ท็อป    

          056                                               นาย วรวงศ์ ชูศรีสุข                                        วรวงศ์

          057                                               นาย วัชรินทร์ ทองด้วง                                     อาม

          058                                               นาย วันอิลฮาม อาแวดอเลาะ                              อัง

          060                                               นาย ศักดิ์ดา ยาพระจันทร์                                 ศัก

          061                                               นาย สรวิชญ์ สีนวน                                         เฟรม

         062                                               นาย สรศักดิ์ ทองประดับ                                    เต้

         063                                               นาย สิทธิพงค์ แก้วจุลกาญจน์                          แก็ต

         066                                               นาย อนุศักดิ์ วาดี                                             ก้าน

         068                                               นาย อัซฮา ยามา                                               ฮา

         069                                               นาย อัตฟัลซารอยา จูนิ                                    ปะจู

         070                                               นาย อับดุุลฮากีม เหตุ                                       กีม

         071                                               นาย อับดุลฮาฟิร์ ดอเลาะ                                  ฟิต

         072                                               นาย อับบัด หมานระโต๊ะ                                    บัด

         075                                               นางสาว อัสซูวานา ลาเตะ                                 วันนา

         077                                               นายอาดัม หลงหัน                                          อาดัม

         079                                               นาย อามีน ซาและ                                           อามีน

         080                                               นาย อิกรอม อาแด                                          ย๋อง

         082                                               นาย ฮัมดี มะสะแม                                             ดี   

         083                                               นาย ฮัสบูดิง บิง                                            ฮัสบูดิง

         084                                               นาย ฮาซัน สารง                                               ซัน

         085                                               นาย ฮาบิ๊บ ดือราแม็ง                                        บี๊บ

         086                                               นาย ศุภฤกษ์ หมันสัน                                       เลอ

 

13 มีนาคม, 2565


 หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


    หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หรือ “Industrial robot” เป็น เครื่องทุ่นแรงในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย และค่อยๆพัฒนาให้สามารถทำงานได้หลากหลายฟังก์ชั่น มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยแบ่งตามลักษณะประเภทการใช้งาน ซึ่งควบคุมด้วยมนุษย์และระบบอัตโนมัติ

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

    เมื่อปี ค.ศ.1961 ได้ก่อกำเนิดหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตัวแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนายจอร์จ ดีวอล (George Devol) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เพื่อให้หุ่นยนต์ได้ทำงานที่อันตรายแทนมนุษย์ในโรงงานประกอบรถยนต์ แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวกระโดดไปได้ไกลมากขึ้น มนุษย์ได้คิดค้นและสร้างหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นเพื่อนร่วมงานของมนุษย์ นั่นก็คือ ‘Cobot’ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างเฉลียวฉลาดและมีประสิทธิภาพ 

Cobot คืออะไร



    โคบอท หรือ Collaborative Robots คือหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างเป็นแขนกลที่ทำงานหยิบจับจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆและหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด ซึ่ง Cobot จะมีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย สามารถตรวจวัดและผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้หลายๆชิ้นตามสเกลที่กำหนดไว้โดยปราศจากข้อผิดพลาด โดยโคบอทมีความแตกต่างจากหุ่นยนต์หรือโรบอททั่วไปคือโคบอทมีน้ำหนักเบาและขนาดไม่เทอะทะ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆในโรงงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยโคบอทถูกใช้อย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เคมีภัณฑ์ ยา อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์

หุ่นยนต์โคบอททำอะไรได้บ้าง

      

       ดยปัจจุบันนี้มีหุ่นยนต์โคบอทตัวหนึ่งซึ่งเป็นแขนกลที่ทำหน้าที่เชื่อมและประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือโคบอทรุ่น UR3 ที่สร้างและพัฒนาโดยบริษัท Universal Robots โดยหุ่นยนต์โคบอทรุ่นนี้มีระบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย ทำงานเชื่อมและประกอบได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตรวจจับและวัดขนาดได้แม่นยำกว่ามนุษย์ และหุ่นนบนต์โคบอทรุ่น UR5 ที่ทำงานจับวางและทดสอบชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้เร็วกกว่ามนุษย์ถึง 18 เท่าต่อครั้ง

ตัวอย่างการทำงานของ Cobot

 2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วนรถยนต์


Articulated Robot (Jointed Arm)

    หุ่นยนต์ประเภท Articulated (บางครั้งก็ถูกเรียกว่า Jointed Arm) เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้การเลียนแบบการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์มากกว่าหุ่นยนต์ประเภทอื่นๆ โดยข้อต่อทั้งหมดจะเป็นรูปแบบหมุน (Revolute) 3 จุดขึ้นไป (อาจมีจำนวนข้อต่อมากถึง 10 จุดตามการออกแบบ) ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ยืดหยุ่น ลื่นไหล ทำงานได้หลากหลาย

    ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ครบครัน ทำให้ Articulated Robot มีการนำไปใช้งานหลายประเภท ตั้งแต่งานยกของธรรมดาๆ งานเชื่อม งานตัด จนถึงงานพ่นสีเลยทีเดียว ข้อเสียของหุ่นยนต์ประเภทนี้คือการควบคุมที่ค่อนข้างยาก จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือมีการวางระบบพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานที่ดีอยู่แล้ว รวมถึงการเคลื่อนที่ที่ใช้ข้อต่อหมุน หากหุ่นยนต์ใช้วัสดุที่คุณภาพค่อนข้างต่ำจะทำให้การเคลื่อนที่ไม่ดีพอไปด้วย

    นอกเหนือจากหุ่นยนต์รูปแบบหลักๆ ด้านบน ยังมีการสร้างหุ่นยนต์แบบ Custom ตามรูปแบบการผลิตต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับโรงงานนั้นๆ มากที่สุด ทั้งนี้การสร้างหุ่นยนต์แบบเฉพาะย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าทั้งจากการผลิตและการดีไซน์

ตัวอย่างการใช้งานในการผลิตรถยนต์


กระบวนการผลิตรถยนต์มีชิ้นส่วนนับหมื่นชิ้นที่ใช้ในการผลิต มีทั้งที่ใช้แรงงานคนและหุ่นยนต์ทำงานแทนในพื้นที่อันตรายหรือต้องการความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า จากนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์ที่ทำงาน

งานเชื่อม
ส่วนนี้จะใช้หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่มีสามารถรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้เชื่อมชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนหุ่นยนต์ขนาดเล็กจะใช้เชื่อมชิ้นส่วนขนาดเล็ก เช่น ตัวยึด

งานประกอบชิ้นส่วน
หุ่นยนต์ที่ใช้ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ เช่น การติดตั้งกระจกหน้ารถ การติดตั้งล้อ งานเหล่านี้สามารถใช้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การดูแลเครื่องจักร
การหล่อขึ้นรูปจากเครื่องฉีดขึ้นรูปหรือเครื่องหล่อขึ้นรูป และส่วนขนถ่ายเครื่องจักร CNC ที่อันตราย

การกำจัดวัสดุ
เนื่องจากสามารถเดินตามเส้นทางที่ซับซ้อนซ้ำๆ ได้ หุ่นยนต์จึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับงานตัดและเลเซอร์ เช่น การตัดพลาสติก ตัดผ้า ตัดแม่พิมพ์ ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์จึงสามารถรักษาแรงกดต่อชิ้นส่วนได้คงที่

การขนย้ายชิ้นส่วน
การเทโลหะเหลวลงแม่พิมพ์ในโรงงานหล่อหรือการกดชิ้นส่วนโลหะที่มีความร้อนสูง งานเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อคน การใช้แรงงานคนมาทำงานในส่วนนี้จึงไม่เหมาะสม ควรใช้หุ่นยนต์มาทำงานในส่วนนี้แทน

การทาสี การเคลือบสี
งานพ่นสีหรืองานเคลือบสีต้องมีความสม่ำเสมอในการพ่น เพื่อให้ชิ้นส่วนออกมาสมบรูณ์ และยังต้องคำนึงถึงปริมาณสารที่ใช้ไม่ให้เกิดการสิ้นเปลืองจนเกินไป งานเหล่านี้จึงให้หุ่นยนต์เข้ามาทำแทน เนื่องจากสามารถกำหนดปริมาณสารได้และทำงานได้อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้

หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสี งาน Sealing เป็นต้น ดังนั้นการเลือกหุ่นยนต์มาใช้งาน ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการให้หุ่นยนต์ทำ

สำหรับการทำงานในโรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่อันตราย ควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เช่น Safety Light Curtain ม่านแสงนิรภัย ติดไว้ในส่วนเครื่องจักรเพื่อไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่เครื่องจักรทำงาน หรือ Safety Interlock Switches สวิตซ์สำหรับติดตั้งไว้ที่ประตูเพื่อกันไม่ให้เข้าไปในพื้นที่อันตราย

ตัวอย่างการทำงาน Articulated Robot (Jointed Arm)


3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด



                หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก (D-EMPIR)

    หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก (D-EMPIR) ได้ถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา เจ้าหน้าที่สามารถพกพาไปปฏิบัติงานได้สะดวก เหมาะกับการใช้งานในระดับยุทธวิธี การพิสูจน์ทราบ ลาดตระเวนตรวจการณ์ และสำรวจพื้นที่เป้าหมาย ง่ายต่อการใช้งาน สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่อง 1-2 ชั่วโมง คงทนต่อสภาพแวดล้อม รองรับด้วยมาตรฐานสากล สามารถปีนและไต่ทางลาดชันได้ไม่น้อยกว่า 35 องศา ควบคุมและสามารถสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 200 เมตร รองรับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ช่วยในการสนับสนุนภารกิจที่หลากหลาย เช่น ปืนยิงทำลายวงจรวัตถุระเบิด ระบบเอกซ์เรย์วัตถุระเบิด ปัจจุบัน สทป. ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.) ในการพัฒนาปรับปรุงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก (D-EMPIR) จนมีสมรรถนะที่เพียงพอและสามารถตอบสนองความต้องการได้ ในระดับความพึงพอใจ ดีมาก

ตัวอย่างการทำงาของหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด



4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ

        Xiaoyi หุ่นยนต์ตัวแรกที่สอบผ่านใบอนุญาตทางการแพทย์ 



    Xiaoyi (เสี่ยวยี่) เป็น AI ตัวแรกที่สอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ของจีน สามารถทำคะแนนสอบได้ 456 คะแนน จากคะแนนเต็ม 600 คะแนน สูงกว่าเกณฑ์ผ่านถึง 96 คะแนน

    หนึ่งในทีมผู้คิดค้นระบุว่า Xiaoyi สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่ามนุษย์ ทั้งตำราเรียนแพทย์หลายสิบเล่ม เวชระเบียนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยกว่า 2 ล้านชิ้น และบทความเกี่ยวกับการทดสอบการเป็นแพทย์กว่า 400,000 บทความ ประกอบกับการเป็นปัญญาประดิษฐ์ ทำให้ Xiaoyi สามารถเรียนรู้ ใช้เหตุผล และตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง

    Xiaoyi ถูกพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยชิงหวาในกรุงปักกิ่ง และบริษัท iFlytek บริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เช่น การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย และให้คำแนะนำแพทย์เพื่อช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น

ตัวอย่างการทำงาของหุ่นยนต์  Xiaoyi








04 มีนาคม, 2565

     เครื่องจักร NC CNC DNC

    เครื่องจักร NC คืออะไร ?


    เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว

ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.

       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC

      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น

คลิปตัวอย่างการทำงานของเครื่องจักร NC



เครื่องจักร CNC คืออะไร ?


CNC ย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึง การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบอิเลคทรอนิกส์ จะทำการประมวลผล และ สั่งการเพื่อให้เครื่องจักรทำงาน หรือ เกิดการเคลื่อนที่จากชุดคำสั่งต่าง ๆ หรือ กระทำตามเงื่อนใขที่ถูกกำหนด

หลักการทำงาน ของ CNCการผลิตชิ้นงานจะถูกควบคุมการสั่งการด้วย Computer ประกอบด้วย ระยะของการเคลื่อนที่ต่างๆ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หัวกัด Print head ใน 3d Printer ซึ่งจะถูกคำนวณ และ สั่งการจากชุดคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นจนสิ้นสุดการทำงาน  โดยชุดควบคุมจะได้รับข้อมูลขั้นตอนการทำงาน และ การสั่งการ จากโปรแกรม ที่เราเรียกว่า NC Code หรือ G code (Link) ที่เรารู้จักกัน ซึ่งต้องวางแผนทุกขั้นตอนก่อนทุกครั้ง และ สร้างเป็นโปรแกรม เพื่อให้ชุดควบคุมทำงานได้สำเร็จสำหรับแกนหมุนจะมีตั้งแต่  2 แกน – 12แกน สามารถทำงานได้ 2 มิติ ,และ 3มิติ  โดยทั่วไปจะ สร้างโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ และ นำข้อมูลผ่าน Post processor จึงจะได้ NC-CODE มาใช้งาน วัสดุที่นำมาใช้กับ CNC เพื่อสร้างชิ้นงาน เช่น ไม้ , แผ่น Acrylic, พลาสติก, พลาสติกวิศวกรรม ,ทองเหลือง และ อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งชิ้นงานที่ได้จะเป็นงานในลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติ แล้วแต่กำหนด. ขึ้นอยู่กับขนาด และความสามารถของเครื่อง ที่มีความหลากหลาย

ข้อดีของการใช้เครื่องจักร CNC

1. ลดจำนวนของเครื่องมือ, การประมวลผลส่วนที่ซับซ้อนของรูปร่างไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ซับซ้อน ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนรูปร่างและขนาดของชิ้นส่วนคุณจะต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมการประมวลผลชิ้นส่วนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับเปลี่ยน

2. คุณภาพการประมวลผลมีเสถียรภาพความแม่นยำเครื่องจักรกลสูงความแม่นยำในการทำซ้ำสูงจะปรับการร้องของานฝีมือพันธุ์อื่น ๆ 

ข้อเสียของการใช้เครื่องจักร CNC 


1.คืออุปกรณ์เครื่องมือกลมีราคาแพงและต้องการให้บุคลากรในการบำรุงรักษามีระดับที่สูงขึ้น

คลิปตัวอย่างการทำงานของเครื่องจักร CNC


เครื่องจักร CNC คืออะไร ?


Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดีและยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย


คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
          1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
          2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
          3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
          4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
          5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
          6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้

คลิปตัวอย่างของอุปกรณ์ควบคุมแบบ DNC




 สายพานลำเลียง ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุ ซึ่งระบบสายพานลำ...